วิชาis โหดจริงเหรอ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเด็กมึนๆ




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเด็กมึนๆ


พูดถึงIS แล้วต้องเคยทำหน้ากันแบบนี้555 เราก็เคยทำ เพราะอะไรนะเหรอก็เพราะว่าตอนม.ต้นเคยเรียนวิชาISแล้วยังไงนะเหรอหน้าก็เป็นแบบนี้แหละ 555 คือว่าตอนม.ต้นเคยเรียนวิชานี้แล้วคือครูให้งานมาว่าให้นักเรียนไปคิดว่าจะเอาอะไรมาเป็นหัวข้อในวิชานี้ เราเคยทำคือเราทำเสร็จแล้วนะแต่ต้องกลับมาแก้ให้เพราะอะไรนะเหรอก็เพราะว่าเราย่อหน้าผิดไป1ซม.แล้วยังไงละเราก็ต้องกลับมาทำให้แล้วคือปริ้นงานมาแล้ว แล้วมันเสียเงินมากจนตอนมต้นเหมือนกินแกลบ 5555 ก็ต้องอดทนละเนอะ เข้าเรื่องเหอะ นี้ก็เข้าอยู๋นี้นี้ต้นๆนะเดี่ยวมาเม้าใหม่เข้าเรื่องๆ ตอนท้ายก็มีไรให้เพื่อนๆอ่านด้วยละ
   
      วิชา IS ย่อมาจาก Independent Study คือ วิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research & Knowledge Formation) เป็นวิชาในโรงเรียนหลักสูตรมาตรฐานสากล
     การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) ซึ่งจัดแบ่งเป็นสาระการเรียนรู้ 3 สาระ ประกอบด้วย
              IS 1- การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
               IS 2- การสื่อสารและการนาเสนอ (Communication and Presentation)เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม หลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ
               IS 3- การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity)เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียน นำ/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ (Public Service)



 การจัดหลักสูตรสถานศึกษาสาหรับการศึกษาค้นคว้าตนเอง
การนำสาระการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS ) ไปพิจารณาจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล สามารถดำเนินการได้ดังนี้
ระดับประถมศึกษา ในระดับประถมศึกษาซึ่งเป็นระดับชั้นที่ผู้เรียนยังเล็ก และเหมาะกับการจัดการเรียนรู้ที่มีการเชื่อมโยงบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆในลักษณะของหัวเรื่องที่ผู้เรียนใจ (Theme) การพัฒนาผู้เรียนตามบันได 5 ขั้นสู่ความเป็นสากล สามารถจัดในลักษณะของหน่วยการเรียนรู้ หรือรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงวัย ดังนี้
ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 : จัดเป็นหน่วยการเรียนรู้เฉพาะ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์)
– หน่วยการเรียนรู้เฉพาะ ให้จัดในรายวิชาพื้นฐานอย่างน้อย 1 รายวิชา ในแต่ละปีการศึกษา โดยหน่วยการเรียนรู้นั้นต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทั้ง IS 1 และ IS2 คือ การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS 1 : Research and Knowledge Formation) โดยครูอาจกำหนดประเด็นที่สนใจเกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัว เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักตั้งคาถาม ข้อสงสัย ตั้งสมมุตติฐานตามจินตนาการแล้วมีการค้นคว้า แสวงหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลพื้นฐานง่ายๆ และให้ผู้เรียนได้สรุปความรู้ที่ได้ จากนั้นให้ผู้เรียนได้ฝึกนำข้อมูลความรู้ หรือคำตอบที่ได้ มาสรุปเรียบเรียงถ่ายทอด/สื่อสาร นำเสนอการด้วยวิธีการที่เหมาะสมหลากหลายรูปแบบ (IS 2 : Communication and Presentation)(ผลผลิต/ร่องรอยหลักฐานจากการเรียนรู้ ได้แก่ ชิ้นงาน/ภาระงาน ที่สะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ และมีการนำเสนอสื่อสารที่เหมาะสมกับวัย เช่น การพูด ภาพวาด งานเขียนง่ายๆ งานที่ลงมือปฏิบัติหรือประดิษฐ์ง่ายๆ เป็นต้น )
– กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้จัดในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นการนำสิ่งที่เรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้ที่จัดขึ้นข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการทำประโยชน์ต่อสังคม IS 3 (Global Education and Social Service Activity) ซึ่งในระดับชั้นเด็กเล็กอาจใช้กับบุคคลใกล้ตัว หรือในโรงเรียนตามความเหมาะสมกับระดับชั้น
ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6: จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 1 รายวิชา (40 ชม./ ปี) และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
– รายวิชาเพิ่มเติม ใช้ชื่อรายวิชา การค้นคว้าเพื่อเรียนรู้ (Knowledge Inquiry) โดยจัดให้เรียนในชั้นปีใด ปีหนึ่ง กระบวนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชานี้จะต้องครอบคลุมทั้ง IS 1 (Research and Knowledge Formation) และ IS 2 (Communication and Presentation) ในลักษณะที่ยากและลึกซึ้งขึ้น ให้เหมาะสมกับศักยภาพและวุฒิภาวะของผู้เรียน ตามเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนที่กำหนด (ผลผลิต/ร่องรอยหลักฐานจากการเรียนรู้ ได้แก่ ชิ้นงาน/ภาระงาน งานเขียนที่สะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้า และมีการนำเสนอสื่อสารในลักษณะต่างๆ เช่นงานเขียน รายงาน ชิ้นงาน อาจมีการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมกับวัยในการสื่อสารถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้แก่ผู้อื่น )
– กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้นำความรู้ที่เรียนรู้จากรายวิชา การค้นคว้าเพื่อเรียนรู้ (Knowledge Inquiry) มาปฏิบัติของกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามความมุ่งหวังของสาระ IS 3 (Global Education and Social Service Activity)
ระดับมัธยมศึกษา ให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 2 รายวิชา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดังนี้
รายวิชาเพิ่มเติมนั้นให้จัดภาคเรียนละ 1 รายวิชา ในชั้นปีใดปีหนึ่งของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
– รายวิชาเพิ่มเติมที่1 ใช้ชื่อรายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ( Research and Knowledge Formation) (1- 1.5 หน่วยกิต) ในรายวิชานี้ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้เกิดความรู้และทักษะตาม IS 1 ผู้เรียนเลือกประเด็นที่สนใจในการเรียนรู้ เพื่อกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
– รายวิชาเพิ่มเติมที่ 2 ใช้ชื่อรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ ( Communication and Presentation) (1 – 1.5 หน่วยกิต) เป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากรายวิชาแรก โดยผู้เรียนนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากรายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ มาเขียนรายงานหรือเอกสารทางวิชาการ และนำเสนอ เพื่อสื่อสารถ่ายทอดข้อมูล ความรู้นั้นให้ผู้อื่นเข้าใจ (ร่องรอยหลักฐานในการเรียนรู้ ได้แก่ ผลงานการเขียนทางวิชาการ 1 ชิ้น และการสื่อสารนำเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นภาษาไทย 2,500 คำ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นภาษาไทย 4,000 คำ หรือภาษาอังกฤษ 2,000 คำ)
– กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้จัดในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นการนำสิ่งที่เรียนรู้จากรายวิชาเพิ่มเติมทั้ง 2 รายวิชาข้างต้น ไปประยุกต์ใช้ในการทำประโยชน์ต่อสังคม(สาระการเรียนรู้ IS 3 -Global Education and Social Service Activity)
ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์) นั้น เป็นสิ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งโรงเรียนทุกแห่งซึ่งรวมทั้งโรงเรียนมาตรฐานสากล  ต้องจัดเพื่อพัฒนาผู้เรียนอยู่แล้ว ในส่วนของโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ผู้เรียนต้องดำเนินกิจกรรมตาม IS 3 นั้นควรดำเนินในส่วนกิจกรรมช่วงระยะเวลาหรือในระดับชั้นที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ IS 1-IS 2 แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน สำหรับการดำเนินกิจกรรมในระดับชั้นอื่นๆ ที่ยังไม่มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับ IS1- IS2 นั้น โรงเรียนพิจารณาให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆได้ตามความเหมาะสม
ก็พอจะรู้กันมากพอสมควรเธอๆคงไม่อ่านจนหมดหรอก แต่ยังไงเราก็ต้องเรียนวิชาISนะ 
     ต่อจากข้างบนคือพอเรียนวิชาISจบของตอนม.ต้นก็รุ้สึกดีเป็นอย่างหนึ่งคือเหมือนได้เป็นไทยแล้ว5555    แต่พอมาม.4เราก็ได้เจอกับวิชาISอยู่วันยังค่ำแต่คราวนี้ไม่ใช่ครูคนเดินแต่เป็นครูที่เข้าใจนักเรียนเข้าใจพ่อแม่ว่าเหนื่อยยากแค่ไหน แล้วครูเขาได้บอกกับนักเรียนทุกคนว่า วิชาISนั้นไว้ทำเพื่อให้นักเรียนค้นคว้าข้อให้รู้ลึกเข้าไป แล้วที่เด็ดคือ  ไไม่ต้องเสียตั้งแล้วโว๊ยยยยย 555 เพราะอะไรนะเหรอก็เพราะว่า ไม่ต้องปริ้นงานออกมาเป็นโครงงาน มั้นแพงแล้วเสียเวลา ครูเขาเลยให้นร.ทำเป็นblogขึ้นมา แล้วได้ให้นักเรียนมาสร้างBlog เพื่อที่จะให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลมาและตอนนี้เราก็เป็นนักเรียนคนนั้นที่ทำBlogอยู๋ และได้รู้ว่าการทำวิชานี้ได้อะไรบ้างแล้วได้ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นประโยชน์ไม่ใช่ว่าใช่แต่เล่นมือถือไวันๆไม่ทำอะไรเลย ก็เราก็ขอจบเพียงเท่านี้ ไว้พบกันใหม่


ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังนั่ง, ตาราง, สถานที่ในร่ม และ ภาพระยะใกล้





ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม