Baha'i ศาสนา บาไฮ

Baha'i ศาสนา บาไฮ

ผู้ก่อตั้ง ศาสนา บาไฮ


นิยาม



อัล-บาบิยะฮฺ และอัล-บะฮาอิยะฮฺ คือ ลัทธิที่แยกตัวจากสำนักคิดชีอะฮฺสายอัช-ชัยคียะฮฺ เมื่อปี ฮ.ศ.1260 / ค.ศ.1844 ภายใต้การอุปถัมภ์ค้ำชูของจักรวรรดินิยมโซเวียต องค์กรยิวสากลและจักรวรรดินิยมอังกฤษ โดยมีเป้าหมายหลักคือทำลายหลักการศรัทธาของอิสลาม สร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิม และเพื่อให้ชาวมุสลิมหันเหจากปัญหาหลัก

การก่อกำเนิด

ลัทธินี้ก่อตั้งโดย อัล-มิรซาอะลีย์ มุหัมหมัด ริฎอ อัช-ชีรอซีย์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ.1235-1266/ค.ศ.1819-1850) มีฉายานามว่า อัล-บาบ (ชาวบาไฮในประเทศไทยเรียกว่าพระบ็อบ)


เมื่อตอนอายุ 6 ขวบอัล-มิรซาอะลีย์ มุหัมหมัด ริฎอ อัช-ชีรอซีย์ ได้ศึกษาความรู้ครั้งแรกจากนักเผยแพร่นิกายชีอะฮฺท่านหนึ่ง ต่อมาเขาได้หยุดเรียนและหันไปประกอบอาชีพค้าขาย เมื่ออายุ 17 เขาได้กลับมาศึกษาหาความรู้อีกครั้งโดยสนใจในตำราเกี่ยวกับวิชาตะเศาวุฟ และการฝึกฝนทางจิตวิญญาณตามแนวทางของพวกอัล-บาฏินียะฮฺ ที่นิยมการทรมานร่างกาย


ในปี ฮ.ศ. 1259เขาได้เดินทางไปยังกรุงแบกแดดและได้เริ่มศึกษาหาความรู้จากผู้นำชีอะฮฺ สายอัช-ชัยคียะฮฺ ซึ่งมีนามว่า กาซิม อัร-ร็อชตีย์ เขาได้ศึกษาแนวคิดและทัศนะต่างๆของลัทธินี้อย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งเขาได้รู้จักกับสายลับชาวรัสเซียคนหนึ่ง ชื่อว่า คินาซด์ ฆุรกีย์ เขาคนนี้ได้อ้างตนว่าเป็นมุสลิมโดยใช้ชื่อว่า อีซา อัน-นักรอนีย์ เขาผู้นี้ได้เริ่มสร้างกระแสว่า อัล-มิรซา มุหัมหมัด อัช-ชีรอซีย์ คือ อิหม่ามอัล-มะฮฺดีย์ ที่โลกรอคอย และเป็นอัล-บาบ(ประตูสู่การรู้จักสัจธรรมเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า)ซึ่งจะปรากฎตัวหลังการเสียชีวิตของอัร-ร็อชตีย์ ทั้งนี้เนื่องจากเขามองว่าอัช-ชีรอซีย์เป็นบุคคลที่เหมาะสมที่จะอุปโลกน์เพื่อให้แผนการของพวกเขาบรรลุผลในการสร้างความแตกแยกในหมู่ชาวมุสลิม


ในคืนวันพฤหัสบดีที่ 5 ญุมาดัลเอาวัล ฮ.ศ.1260 ตรงกับ 23 มีนาคม 1844 เขาได้ประกาศตนว่าเขาคือ อัล-บาบ ตามความเชื่อของชีอะฮฺ สายอัช-ชัยคียะฮฺ หลังการเสียชีวิตของอัร-ร็อชตีย์ เมื่อปี ฮ.ศ. 1259 เขาอ้างตนว่าเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ เสมือนกับท่านนบีมูซา นบีอีซา และนบีมุหัมมัด (แท้จริงแล้วบรรดาศาสนทูตของพระองค์มีเกียรติอันสูงส่งไม่สามารถนำมาเปรียบกับเขาได้เลย)


จากคำกล่าวอ้างดังกล่าวทำให้ศิษย์ของอัร-ร็อชตีย์ หลงเชื่อและผู้คนทั่วไปพากันหลงเชื่อด้วยเขาจึงเลือกบุคคลจำนวน 18 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่แนวคิดของเขา โดยให้ฉายานามบุคคลเหล่านั้นว่า อัล-หุรูฟ อัล-หัยย์ (อักษรที่มีชีวิต) แต่เมื่อปี ฮ.ศ. 1261 พวกเขาได้ถูกทางการจับกุมตัว และในที่สุดพวกเขายอมประกาศเตาบัต(กลับตัว) บนมินบัรฺมัสยิดอัล-วะกีล หลังจากที่พวกเขาได้สร้างความเสื่อมเสียบนหน้าแผ่นดิน เข่นฆ่าชาวมุสลิมมากมาย ตลอดจนกล่าวหาว่าชาวมุสลิมกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา


ในปี ฮ.ศ.1266 อัล-มิรซาอะลีย์ มุหัมหมัด ริฎอ อัช-ชีรอซีย์(อัล-บาบ หรือพระบ็อบ) ได้อ้างว่าพระผู้เป็นเจ้าได้สถิตย์ในร่างของตน(หุลูล อิลาฮิยะฮฺ) แต่หลังจากปราชญ์มุสลิมได้โต้เถียงกับเขาถึงประเด็นนี้เขาได้แสดงท่าทีว่ายอมรับและกลับตัว แต่ปราชญ์มุสลิมไม่ได้หลงกล เนื่องจากรู้ว่าเขาผู้นี้เป็นคนขี้ขลาดเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความจริง ดังนั้นปราชญ์มุสลิมได้ตัดสินให้ประหารชีวิตเขาและสหายของเขา อัซ-ซะนูซีย์ ส่วนผู้บันทึกคำสอนของเขาที่ชื่อว่า หุสัยน์ อัล-ยัซดีย์ ได้เตาบัต (กลับตัว)จากลัทธิอัล-บาบิยะฮฺ ก่อนที่จะถูกประหารทำให้เขาได้อิสรภาพไม่ต้องโทษ เมื่อวันที่ 27 ชะอฺบาน 1266 ตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม 1850




บุคคลสำคัญของอัล-บะฮาอิยะฮฺ


1. กุรเราะฮฺ อัล-อัยนฺ ซึ่งมีชื่อจริงว่า อุมมุ สัลมา ถือกำเนิด ณ เมืองก็อซวีน เมื่อปี ฮ.ศ. 1231 ได้ศึกษาหาความรู้จากมุลลา มุหัมหมัด ศอลิหฺ อัล-ก็อซวีนีย์ หนึ่งในปราชญ์ชีอะฮฺ ต่อมาได้สนใจศึกษาแนวทางชีอะฮฺสายอัช-ชัยคียะฮฺ ผ่านลุงของนางเอง คือ มุลลา อะลีย์ อัช-ชัยคีย์ นางได้รับอิทธิพลทางความคิดจากชีอะฮฺกลุ่มนี้ ต่อมานางได้เดินทางมาศึกษาจาก กาซิม อัร-ร็อชตีย์ พร้อมอัล-บาบ ณ เมืองกัรบะลาอ์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก)จนมีคนเข้าใจว่านางคือผู้ออกแบบแนวความคิดต่างๆ ให้แก่อัล-บาบ

เนื่องจากนางเป็นนักพูดที่ชาญฉลาดมีวาทะโวหารที่ปราดเปรื่อง อีกทั้งเป็นผู้ที่มีความเลอโฉมงดงาม แต่นางก็ถือว่าเป็นหญิงแพศยา สามีของนางได้ขอหย่าและปฏิเสธการเป็นบิดาของลูกที่อยู่ในครรภ์ของนาง นางได้รับฉายานามว่า "เราะซีน ตาญจ์"เจ้าของบทกวีภาษาเปอร์เซีย

ในเดือนเราะญับ ปี ฮ.ศ. 1264 นางได้ประชุมหารือกับแกนนำลัทธิอัล-บาบิยะฮฺ ณ เมืองบะดัชต์ (Conference of Badasht) นางเป็นผู้ที่กล่าวสุนทรพจน์ และสร้างความฮึกเหิมแก่มวลสมาชิกอัล-บาบิยะฮฺเพื่อออกมาประท้วงการจับกุมอัล-บาบ และได้ประกาศจุดยืนว่าอัล-บาบิยะฮฺได้เป็นอิสระจากศาสนาอิสลามแล้ว

นางเป็นผู้หนึ่งที่เข้าร่วมวางแผนลอบสังหารกษัตริย์ ชาฮ์ นาศีรุดดีน อัล-กอญารีย์ (Nasser al-Din Shah Qajar- กษัตริย์ผู้ปกครองประเทศอิหร่าน ระหว่างปี ค.ศ.1848-1896) ต่อมานางได้ถูกจับกุมและถูกตัดสินให้เผาเป็นๆ แต่ทว่านางได้เสียชีวิตก่อนจะถูกประหารในต้นเดือนซุลเกาะอฺดะฮฺ ฮ.ศ. 1268 ตรงกับ ค.ศ. 1852


2. อัล-มิรซา ยะหฺยา อะลีย์ มีศักดิ์เป็นน้องชายของอัล-บาบ มีฉายานามว่า ศุบฮฺ อะซัล อัล-บาบได้สั่งเสียให้เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำแทนเขาหลังเสียชีวิตเรียกขานผู้ตามของเขาว่า อัล-อะซัลลิยีน แต่น้องชายของเขา อัล-มิรซา หุซัยนฺ อัล-บะฮาอ์ ต้องการชิงตำแหน่งผู้นำลัทธินี้เช่นกัน และต่างคนพยายามที่จะลอบสังหารกัน


ความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างอัล-บาบิยะฮฺกับพวกชีอะฮฺ ทำให้พวกเขาต้องถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองอัดเราะนะฮฺ (Edirne) ประเทศตุรกี เมือปี ฮ.ศ.1863 อันเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวยิว และด้วยเหตุที่พลพรรคของศุบฮฺ อะซัล และพลพรรคของบะฮาอุลลอฮฺเกิดความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง สุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานได้เนรเทศ บะฮาอุลลอฮฺพร้อมมวลชนของเขาไปอยู่ที่เมืองอักกา ส่วน ศุบฮฺ อะซัลและมวลชนของเขาถูกเนรเทศไปยังเกาะไซปรัส จนเขาได้เสียชีวิตที่นั้น เมื่อวันที่ 29เมษายน 1912 ด้วยวัย 82 ปี โดยได้ทิ้งตำราที่เขาแต่งคือ อัล-อัลวาหฺ และ ตำราอัล-มุสตัยกิซ และได้สั่งเสียให้บุตรชายของเขาที่หันไปนับถือศาสนาคริสต์สืบทอดตำแหน่งผู้นำกลุ่มต่อไป จึงทำให้สมุนของศุบฮฺ อะซัลส่วนใหญ่ไม่พอใจและได้ออกห่าง



3. อัล-มิรซา หุสัยนฺ อะลีย์ ซึ่งมีฉายานามว่า บะฮาอุลลอฮฺ ถือกำเนิดเมื่อปี ค.ศ.1817 ได้ชิงตำแหน่งผู้นำลัทธิอัล-บาบิยะฮฺจากพี่ชายของเขาหลังจากการเสียชีวิตของอัล-บาบ(พระบ็อบ) เขาได้ประกาศตนต่อหน้าสานุศิษย์ของเขาที่กรุงแบกแดด ว่าเขาคือ อัล-มุซ็อฮฮิรฺ อัล-กามิล ผู้ซึ่งอัล-บาบได้พยากรณ์ว่าเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ และพระผู้เป็นเจ้าได้สถิตย์ในร่างของเขาเพื่อสานต่อภารกิจการเผยแพร่ลัทธิอัล-บาบิยะฮฺต่อไป

การเผยแพร่ของเขาถือว่าเป็นการเผยแพร่ในบันไดขั้นที่สองในหลักความเชื่อศาสนาบาบี(ผู้ที่เลื่อมใสในคำสอนของเขาเรียกว่าบะฮาอิยูน หรือพวกบาไฮ) เขาพยายามที่จะลอบสังหารศุบฮฺ อะซัล ซึ่งเป็นพี่ชายของเขาเอง เขามีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับชาวยิวที่อยู่ในตำบลอัดเราะนะฮฺ (Edirne)เมืองสาโลนิกา (Salonika) ประเทศตุรกี อันเป็นแผ่นดินที่ชาวบาไฮ เรียกว่าแผ่นดินแห่งความลับเขาได้ส่งมือสังหารจากเมืองนั้นไปยังเมืองอักกา และได้ทำการสังหารพลพรรคของพี่ชายของเขาศุบฮฺ อะซัล ล้มตายหลายราย

ในปี ค.ศ.1892 บะฮาอุลลอฮฺได้ถูกสังหารด้วยน้ำมือของสมุนพี่ชายของเขาเองและร่างของเขาถูกฝังที่ สวนอัล-บะฮฺญะฮฺ เมืองอักกา (ประเทศปาเลสไตน์)เขามีผู้ทำหน้าที่เขียนคัมภีร์ให้เขา เช่น คัมภีร์อัล-บะยาน (Kitab al-Bayan) และ คัมภีร์อัล-อีกอน (Kitab al-Iqan) คัมภีร์ของเขามีเนื้อหาเรียกร้องให้ชนชาติยิวมารวมตัวกันตั้งถิ่นฐาน ณ ดินแดนปาเลสไตน์


4. อับบาส อะฟันดีย์ มีฉายานามว่า อับดุลบะฮาอ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1844 ซึ่งเป็นวันเดียวกันที่อัล-บาบ ได้ประกาศลัทธิใหม่นี้ บิดาของเขา(บะฮาอุลลอฮฺ)ได้สั่งเสียให้เขาสืบทอดตำแหน่งผู้นำ เขาเป็นผู้ที่มีบุคลิกที่จริงจังมาก จนกระทั่งนักประวัติศาสตร์กล่าวว่าหากไม่มีอับบาส ศาสนาบาไฮคงไม่สามารถดำรงอยู่ได้จนทุกวันนี้

ชาวบาไฮเชื่อว่าเขาเป็นผู้ที่บริสุทธิ์จากมวลบาป (มะอฺศูม)เขาได้เพิ่มเติมคุณลักษณะบิดาของเขาบะฮาอุลลอฮฺ ให้คล้ายกับพระผู้เป็นเจ้า คือสามารถที่จะบันดาลสรรพสิ่งขึ้นมาได้ อับบาส อะฟันดีย์ ได้เดินทางเยือนประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พร้อมได้เขาร่วมประชุมสมัชชาไซออนนิสต์ ณ เมืองบาเซิล (Basle)

ในปี ค.ศ.1911 เขาได้พยายามที่จากแหกมติชนชาติอาหรับโดยหันไปสนับสนุนยิวไซออนิสต์ เขาให้การต้อนรับนายพลอัลเลนบี้(General Edmund Allenby-แม่ทัพของอังกฤษที่มายึดครองปาเลสไตน์และซีเรียเมื่อปี ค.ศ.1917) ครั้งที่เดินทางมาที่ปาเลสไตน์ จนรัฐบาลอังกฤษชื่นชมบทบาทของเขาด้วยการยกฐานะเป็นเซอร์ (Sir -เป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งให้กับสามัญชนผู้มีความดีความชอบให้กับแผ่นดินมากซึ่งในอดีตก็จะเป็นอัศวินนักรบ)พร้อมทั้งประดับเครื่องอิสริยาภรณ์และสายสะพายอื่นๆ มากมาย

เขาได้เดินทางเยือนหลายประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา เยอรมัน เบลเยียม ฮังการี อะเล็กซานเดรีย (อียิปต์) เพื่อทำการเผยแพร่ลัทธิของเขา จนกระทั่งเขาได้ก่อตั้งศูนย์ศาสนาบาไฮที่ใหญ่โต ณ เมืองชิคาโก ต่อมาเขาเดินทางไปยังเมืองฮัยฟา(ปาเลสไตน์) เมื่อปี 1913 ต่อมาเขาเดินทางไปยังกรุงไคโรและเสียชีวิตที่นั้นเมื่อปี ฮ.ศ.1340 /ค.ศ.1921 หลังจากที่เขาได้ถ่ายถอดความรู้จากบิดาของเขา พร้อมทั้งได้เพิ่มเติมคำสอนจากคัมภีร์ไบเบิลพันธะสัญญาเก่า เพื่อเป็นการยืนยันในคำสอนของเขาให้มีน้ำหนัก


5. เชากีย์ อะฟันดีย์ เป็นหลานของอับดุลบะฮาอ์ ปู่ของเขาได้จากโลกนี้ไปในขณะที่เขามีอายุ 24 ปี ในปี 1921 / ฮ.ศ.1340 เขาได้ดำเนินตามรอยทางปู่ของเขาในการบริหารองค์กรบาไฮ เพื่อก่อตั้งสภายุติธรรมสากล เขาได้เสียชีวิตที่กรุงลอนดอนจากหัวใจวาย และร่างของเขาถูกฝังที่นั้น แผ่นดินที่รัฐบาลมอบรางวัลมากมายแก่กลุ่มชาวบาไฮ

ในปี ค.ศ.1963 แกนนำบาไฮ 9 คน ได้ดำเนินการตามภารกิจของอัล-บะฮาอิยะฮฺ ด้วยการก่อตั้งสภายุติธรรมสากล (The Universal House of Justice)โดยมีคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน ประกอบด้วย ชาวอเมริกา 4 คน ชาวอังกฤษ 2 คน และชาวอิหร่าน 3 คน และเคยมีผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภา แห่งนี้เป็นชาวยิวฟรีเมสัน สัญชาติอเมริกา
ศาสนาบาไฮ หรือลัทธิบาไฮ(อาหรับ: الدّين البهائي‎; อังกฤษ: Bahá'í Faith) เป็นศาสนาที่แยกตัวออกมาจากลัทธิบาบีในปี ค.ศ. 1863 ถือกำเนิดในจักรวรรดิเปอร์เซีย(ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอิหร่าน) ศาสดาคือพระบะฮาอุลลอฮ์ (พ.ศ 2360-2435) ศูนย์กลางบาไฮโลกอยู่ที่เมืองไฮฟา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 2 แห่ง คือ พระสถูปของพระบะฮาอุลลอฮ์อยู่ที่เมืองอัคคา และพระสถูปของพระบ๊อบอยู่ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ปัจจุบันเป็นศาสนาที่เผยแผ่ได้กว้างขวางเป็นอันดับสองของโลกโดยมีศาสนิกชนกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก บาไฮศาสนิกชนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก

คัมภีร์ที่สำคัญในศาสนา

- คัมภีร์อัคคัส
- คัมภีร์วจนะที่ซ่อนเร้น
- คัมภีร์หุบผาทั้ง 7 และทั้ง 4 และ
- คัมภีร์อิกัน

หลักคำสอน


หลักคำสอนของศาสนาบาไฮ ได้แก่
- มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว
- ทุกศาสนาของโลกคือศาสนาหนึ่งเดียวที่ไม่เปลี่ยนแปลงและคงอยู่นิรันดร์
- ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมนุษยชาติ มนุษยชาติทั้งมวลเป็นชนชาติเดียวกัน - ควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติและสามัคคีปรองดอง
- ความเสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษ
- การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีทางศีลธรรม
- การศึกษาสำหรับทุกคน
- ศาสนาต้องสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์และหลักเหตุผล
- การมีภาษาช่วยที่ใช้สื่อสารกันได้ทั่วโลก
- การขจัดอคติทุกรูปแบบ
- การค้นคว้าหาความจริงโดยอิสระ
- การสถาปนาสหพันธรัฐของโลก เพื่อรักษาสันติภาพด้วยการธำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยร่วมกัน
- จุดมุ่งหมายของชีวิตในโลกนี้คือได้ขึ้นสวรรค์อยู่กับพระเจ้าชั่วนิรันดร วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายสูงสุด ด้วยการจงรักภักดีต่อพระเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ ชาวบาไฮเชื่อว่าชีวิตในโลกนี้มีเพียงครั้งเดียว จากนั้นก็จะไปอยู่ในนรกหรือสวรรค์ชั่วนิรันดร

วันสำคัญทางศาสนา

งานฉลองบุญ 19 วัน อัยยัมมีฮา วันศักดิ์สิทธิ์

บาไฮศาสนิกชน

- กำลังทำงานเพื่อสร้างอารยธรรมที่ก้าวหน้าและยั่งยืน
- พยายามรักษาระดับศีลธรรมอันสูงส่งในทุกการกระทำของพวกเขา โดยพระบาฮาอุลลาห์ทรงเน้นความสำคัญในเรื่องความซื่อสัตย์ ความไว้วางใจได้ ความบริสุทธิ์ การรับใช้ต่อผู้อื่น ความเอื้อเฟื้อ การกระทำสำคัญกว่าคำพูด ความสามัคคี การทำงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการบูชา
- ถูกห้ามมิให้กระทำการฆาตกรรม ลักขโมย พูดปด ประพฤติผิดประเวณี เล่นการพนัน เสพแอลกอฮอล์และสารเสพติด และซุบซิบนินทา
- สวดอธิษฐานและทำสมาธิทุกวัน
- เชื่อว่าครอบครัวที่เข้มแข็งและมีคุณธรรมคือรากฐานของสังคม
- มีโครงการเพื่อการศึกษา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจตั้งแต่ในระดับหมู่บ้านไปจนถึงระดับภูมิภาคมากกว่า 3,000 โครงการทั่วโลก
ชุมชนบาไฮ
- ไม่มีนักบวช ไม่รับบริจาคจากบุคคลภายนอก
- ดำเนินศาสนกิจผ่านทางสภาที่เลือกตั้งขึ้นมา ซึ่งมีเครือข่ายทั่วโลก
- จัดตั้งสภาบริหารระดับท้องถิ่นในกว่า 10,000 แห่งทั่วโลก และมีสภาระดับประเทศในทุกประเทศทั่วโลก

รูปสัญลักษณ์ทางศาสนา

ตัวอักษรคำว่า "ยาบา-ฮาอุลลาห์ภา" ซึ่งเขียนตามแบบภาษาอาหรับ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์
ฐานะของศาสนาในปัจจุบัน
ศาสนาบาไฮนับตั้งแต่ท่านโชกิ เอฟเฟนดี ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2500 ระบบสืบตำแหน่งแทนก็เป็นอันสิ้นสุด ชาวบาไฮจึงได้จัดตั้งองค์กรมาบริหารศาสนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 แบ่งเป็น 3 ระดับ จากต่ำไปหาสูง คือ ธรรมสภาท้องถิ่น ธรรมสภาแห่งชาติ ธรรมสภายุติธรรมสากล
ศาสนาบาไฮ ถึงแม้จะเป็นขบวนการศาสนาใหม่ล่าสุด แต่ก็กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีศาสนิกของศาสนาบาไฮอยู่เกือบทั่วทุกมุมโลก โดยมีศาสนิกประมาณ 10 ล้านคน มี ธรรมสภาแห่งชาติไม่น้อยกว่า 148 แห่ง มีธรรมสภาท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 30,304 แห่ง และมีการแปลคัมภีร์ศาสนาบาไฮออกเป็นภาษาต่างๆ ไม่น้อยกว่า 756 ภาษา โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีสำนักสาขาอยู่ทุกรัฐ และสำนักงานใหญ่ที่เมืองวิลเมตต์ บนฝั่งทะเลสาบมิชิแกน ใกล้เมืองชิคาโก แม้ในประเทศไทยก็มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ทาวน์ อิน ทาวน์ กรุงเทพฯ และยังมีสาขาต่างจังหวัดที่ เชียงใหม่ สงขลา และยโสธร อีกด้วย


ศาสนาบาไฮ เป็นศาสนาใหม่ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันมีศาสนิกของศาสนาบาไฮอยู่เกือบทั่วทุกมุมโลก บาไฮ เชื่อในความแตกต่างและความหลากหลายของมนุษย์ทุกคน ในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นให้เกิดความรักและความสามัคคี มาทำความรู้จักกับศาสนาบาไฮให้มากขึ้น ซึ่งในบ้านเราเองก็มีชาวไทยจำนวนหนึ่งที่นับถือบาไฮ โดยมีศูนย์กลางของศาสนาตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร

 cr.https://sites.google.com/site/janenene233/sasna-baeb-xihran-1
cr.http://www.islammore.com/view/2955
cr.https://tida60.files.wordpress.com/2017/04/e0b89ae0b897e0b897e0b8b5e0b988-e0b991e0b993-e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b984e0b8ae.pdf

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม