ศาสนามาณีกี


ศาสนามาณีกี


1. ศาสนามาณีกี หรือ ศาสนามานี หรือ มานีธรรม (मानी धर्म - Manichaeism) เป็นศาสนาแบบไญยนิยม (Gnosticism) ที่มีต้นกำเนิดในจักรวรรดิเอรานชาหร์ มีพระมานีหัยยา (मानी हय्या) เป็นศาสดา แม้ว่างานเขียนของท่านจะหายสาบสูญไปทั้งหมดแล้ว แต่ยังคงมีฉบับแปลในภาษาต่าง ๆ ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
ศาสนามานี หรือ หม่อหนี่เจียว หรือ ม๊อนี้ก่า (摩尼教) สอนเชิงจักรวาลวิทยาว่าจักรวาลแบ่งออกเป็นของด้าน คือด้านความดีงาม จิตวิญญาณ และความสว่าง กับความชั่วร้าย วัตถุ และความมืดสันนิษฐานว่าศาสนามานีได้รับแนวคิดนี้มาจากแนวคิดของพวกไญยนิยมในเมโสโปเตเมีย
ศาสนามานีกีแพร่หลายมากในภูมิภาคที่ใช้ภาษาแอราเมอิกและซิเรียก ราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 - 7 จนกลายเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งในยุคนั้น ศาสนจักรมานีแพร่ไปทางตะวันออกไกลถึงประเทศจีน และทางตะวันตกไกลถึงจักรวรรดิโรมัน โดยมีศาสนิกชนส่วนมากเป็นทหาร จนได้ชื่อว่าเป็นศาสนาของกองทัพ และกลายเป็นคู่แข่งของศาสนาคริสต์ แทนลัทธิเพกันที่เสื่อมไปก่อนหน้านั้นแล้ว ศาสนามานีในภูมิภาคตะวันออกดำรงอยู่นานกว่าทางตะวันตก โดยโดยเสื่อมสลายไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทางใต้ของจีน
ศาสนิกชนของศาสนานี้เรียกว่าชาวมานีหรือชาวมานีเชียน ซึ่งในปัจจุบันคำว่ามานีเชียนได้ใช้หมายรวมถึงผู้มีแนวคิดทางจริยศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่มองศีลธรรมแบบทวินิยม คือมีความดีความชั่วอยู่จริง และอยู่แยกกันต่างหากอย่างชัดเจน


2.ลัทธิมาณีกีเป็นขบวนการทางศาสนามี่เกิดในเปอร์เชีย (อิหร่านปัจจุบัน) เมื่อพุทธศตวรรษที่แปด
คำว่ามาณีกี มาจากคำว่ามณี หรือมาเนส ซึ่งเป็นชื่อของศาสดาผู้ตั้งลัทธินี้ มณีเกิดเมื่อปี พ.ศ.759 ในบาปิโลเนียภาคใต้ ซึ่งในสมัยเป็นส่วนหนึ่งของจักรพรรดิ์อิหร่านอันได้แก่ ประเทศอิรักในปัจจุบัน มณีได้เจริญเติบโตอยู่ในประชาชน ที่ได้รับอิทธิพลของคำสอนของศาสนายิว ผสมกับศาสนาคริสต์ เมื่อมณีอายุได้ 24 ปี เทพได้บอกให้ท่านออกประกาศคำสอนของท่านต่อประชาชน
ตอนแรกท่านได้เดินทางไปยังเตสิโฟนแล้วต่อไปยังภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอินเดีย ปัจจุบันได้แก่ บาลูชิสถาน แล้วเดินทางกลับเปอร์เซียเข้าเฝ้า และสนทนากับพระเจ้าชาปูรที่หนึ่ง และได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ศาสนาใหม่ของท่านในเปอร์เชียได้อย่างเสรี และได้ส่งศาสนาทูตไปเผยแพร่ในดินแดนต่างประเทศพร้อม ๆ กันไปด้วย เมื่อพระเจ้าชาปูรที่หนึ่งสวรรคต พระเจ้าวาหรามที่หนึ่ง ผู้เป็นโอรสองค์เล็ก ได้ครองราชย์มณีถูกจับจำคุกจนถึงแก่ชีวิต
หลักคำสอนที่สำคัญของลัทธิมาณีกี เป็นหลักคำสอนที่มีการผสมผสานระหว่างคริสต์ศาสนา กับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ แต่เน้นในเรื่องการใช้เหตุผลมากกว่าศรัทธา ชนิดที่สอนให้เชื่ออย่างงมงาย ทำให้นักปราชญ์คนสำคัญของตะวันตก เช่น ออกัสตินและเพื่อน ๆ ได้หันมานับถือลัทธิมาณีกีอยู่เป็นเวลานาน แต่ภายหลังนักบวชในลัทธิมาณีก็ได้โต้วาทะพ่ายแพ้แก่เซนต์อันโบรส นักบวชที่มีชื่อเสียงของคริสต์ศาสนา จึงทำให้ออกัสตินหมดศรัทธา แล้วหันไปนับถือคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก ในที่สุดได้รับสถาปนาเป็นเซนต์ในตอนต้นสมัยกลาง
มณีเห็นว่าตัวท่านเป็นศาสดาพยากรณ์องค์สุดท้ายที่พระเจ้าส่งมาให้โปรดมนุษยชาติ โดยเริ่มจากอาศัยเป็นต้นมา และเชื่อว่าศาสดาพยากรณ์ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธเจ้า โซโรอัสเตอร์ และพระเยซู นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 - 19 ลัทธิมาณีกีได้รับการตอบสนองในดินแดนบางส่วนของโลก ตั้งแต่ฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของยุโรป ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของเอเชีย

ในสามสิบปีสุดท้ายของพุทธศตวรรษที่สิบสอง ศาสนจักรมาณีกีได้ขยายตัวเข้าไปในตะวันออกไกลและได้ไปปรากฎในประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.1218 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อพวกมองโกล ซึ่งมีเจงกิสข่านเป็นผู้นำได้ยกกองทัพไปย่ำยีเตอร์กิสถานลัทธิมาณีกีก็ได้ถูกทำลายเป็นครั้งสุดท้ายด้วย

เป็นที่มาสังเกตว่า ลัทธิมาณีกีที่ได้เข้าสู่เอเชียกลางและประเทศจีนนั้นได้พยายามเป็นคำสอนของตนให้เข้ากับพระพุทธศาสนา ลัทธิมาณีกีที่เข้าไปเผยแพร่อยู่ทางตะวันตกก็พยายามปรับตัวเข้ากับคำสอนในคริสต์ศาสนา และกลายเป็นคริสต์ศาสนามากขึ้น
cr.https://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/638.html
cr.http://www.wikiwand.com/th/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5
cr.https://sites.google.com/site/janenene233/sasna-baeb-xihran-1

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม