ศาสนาขงจื๊อ (Confucius)

ศาสนาขงจื๊อ (Confucius)



ประวัติความเป็นมา
 ศาสนานี้ตั้งชื่อตาม "ขงจื๊อ" ซึ่งเป็นผู้สั่งสอนและเขียนตำรา เดิมทีเดียวตั้งแต่สมัยของขงจื๊อยังมีชีวิตอยู่ มิได้ถือกันว่าคำสอนต่างๆของขงจื๊อเป็นศาสนา แต่เมื่อขงจื๊อสิ้นชีวิตไปแล้วศิษย์และผู้นิยมในคำสอนของท่านได้พากันยกย่องสรรเสริญ จนทางราชการประกาศยอมรับว่าเป็นศาสนา
บุคคลบางคนกล่าวว่า ศาสนาขงจื๊อเป็นระเบียบศีลธรรมมากกว่าจะเป็นศาสนา เพราะขงจื๊อมิได้สอนให้มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เป็นตัวตนหรือการสวดอ้อนวอน ตลอดจนการบูชาพระผู้เป็นเจ้า ที่กล่าวเช่นนี้เพราะศาสนาในทัศนะของฝรั่งเห็นว่า ศาสนาจะต้องผูกพันหรือบูชาพระเจ้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศาสนาขงจื๊อ (Confucius)

ศาสดา 
 ขงจื๊อ เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน ประมาณ 550 ปี ก่อน ค.ศ. ในหมู่บ้านจิว เมืองหลู่ มณฑลชานตุง และเป็นน้องคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 10 คน มารดาชื่อ ชิงไส บิดาชื่อ โห้ ถึงแก่กรรมเมื่อขงจื๊ออายุ 3 ปี จึงเป็นเหตุให้ขงจื๊อต้องทำงานหนัก เริ่มมีโอกาสเรียนหนังสือเมื่ออายุ 15 ปี และเมื่ออายุ 19 ปี ได้รับราชการเป็นพนักงานรักษาฉางข้าว และขงจื๊อได้แต่งงานเมื่ออายุ 20 ปี
เนื่องจากขงจื๊อปฏิบัติงานเป็นผลดี เพราะทำงานด้วนความขยันขันแข็ง และมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ไว้วางใจของหัวหน้า จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าการนาในอำเภอนั้น และในระหว่างทำงานอยู่นี้ขงจื๊อได้ใช้เวลาว่างศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ดนตรี และบทกวี จนมีความรู้กว้างขวางแตกฉาน มีผู้ชอบมาสนธนาความรู้อยู่เสมอ
เมื่ออายุได้ 24 ปี มารดาได้ถึงแก่กรรม ขงจื๊อจึงลาออกจากราชการเพื่อไว้ทุกข์ให้แก่มารดาเป็นเวลา 3 ปี และในช่วงนี้เองขงจื๊อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ บทกวีและปรัชญาอย่างจริงจัง เมื่อครบกำหนดไว้ทุกข์แล้วจึงกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง
เมื่ออายุได้ 30 ปี ได้กลายเป็นผู้รอบรู้และชำนาญในจารีตประเพณี พิธีกรรมต่างๆ และได้เริ่มประกาศตนเป็นศาสดา เที่ยวสั่งสอนประชาชน ขงจื๊อได้ตั้งสำนักเรียนสอนวิชาประวัติศาสตร์ การปกครอง ดนตรี และโรงเรียนอนาถา คือสอนคนทุกระดับโดยไม่คิดค่าจ้าง มีชายหนุ่มผู้ที่เตรียนตัวเข้ารับราชการ ได้สมัครตัวเข้าเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิชาประมวลจารีตประเพณี และนอกจากนี้ขงจื๊อยังรับสมัครชายหนุ่มอื่นๆ ที่มีแววในการเรียนเข้าเป็นศิษย์เป็นจำนวนมาก ขงจื๊อมุ่งสอนให้ประพฤติดีจนเป็นที่เลื่องลือแก่คนทั่วไป
อายุได้ 35 ปี ได้ออกจากเมืองหลู่พร้อมด้วยศิษย์ 2-3 คน ไปยังเมืองฉี เพื่อหวังแสวงหาช่องทางวางรากฐานทางการเมือง เพื่อทำอุดมคติของตนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เจ้าผู้ครองเมืองฉีมีความนับถือในตัวขงจื๊อมาก แต่ก็ไม่สามารถนำคำแนะนำของขงจื๊อมาปฏิบัติได้ ขงจื๊ออยู่เมืองฉี 2 ปี จึงกลับไปอยู่ที่เมืองหลู่ตามเดิม
เมื่อขงจื๊ออายุ 43 ปี ติงกุงได้เป็นเจ้าเมืองหลู่สืบต่อจากเจ้ากุ้ง พระองค์ได้ส่งโอรสทั้งหมดไปศึกษากับขงจื๊อ ครั้นขงจื๊ออายุได้ 46 ปี ปรารถนาศึกษาวัฒนธรรมจิวหรือเจาด้วยตัวเอง จึงได้เดินทางไปยังเมืองโล ซึ่งเป็นราชธานีของเมืองจิว ดังนั้นขงจื๊อจึงได้เรียนรู้วัฒนธรรมจิว จากเล่าจื๊อในเมืองโล
ครั้นอายุได้ 51 ปี ขงจื๊อได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการเมืองจุงดู เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านการปกครองและสามารถปฏิรูปการเมืองได้อย่างน่าพิศวง จึงได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เมื่อขงจื๊ออยู่ในตำแหน่งนี้ได้วางกำหนดข้อบังคับ เพื่อให้เป็นข้อปฏิบัติของประชาชน ในไม่ช้าบ้านเมืองก็ไม่มีคดีอาญาเกิดขึ้นและโรงศาลว่างจากคดีต่างๆ เป็นเมืองตัวอย่างของหัวเมืองอื่น นอกจากนี้ ขงจื๊อยังทูลแนะนำให้ติงกุง เจ้าเมืองหลู่ไปพบกับจิงกุงแห่งเมืองฉีที่หุบเขาเจีย เมื่อปีที่ 500 ก่อน ค.ศ. และได้ให้กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงลงพระนามทำสัญญาเป็นไมตรีต่อกัน โดยเมืองฉีได้ยอมยกเมืองหลูเวนยางคืนให้เมืองหลู่ นี้แสดงให้เห็นว่าขงจื๊อได้ทำหน้าที่เป็นทูตสันถวไมตรีได้อย่างดีเยี่ยมขงจื๊อได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 73 ปี ที่เมืองหลู่ ในปี 478 ก่อน ค.ศ.

คัมภีร์
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำภี ขงจื้อ

ในศาสนาขงจื๊อมีคัมภีร์ที่สำคัญเีรียกเก็งทั้ง 5 และชูทั้ง 4 ดังนี้ก. คัมภีร์เก็ง แบ่งออกเป็น 5 เล่ม คือ
1. ชุนชิว เป็นคัมภีร์ประวัติศาสตร์เขียนขึ้นโดยเขียนประวัติศาสตร์ของรัฐลู้เป็นต้นฉบับเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดในชีวิตของขงจื๊อ ประกอบด้วยอุดมคติทางการเมือง มีบทวิจารณ์รัฐบาลไปด้วย กล่าวถึงภัยธรรมชาติหลายแห่งเป็นเครื่องเตือนใจนักปกครองให้ประพฤติถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วฟ้าดินจะลงโทษให้เกิดวิกฤตการณ์เป็นเหตุให้รัฐบาลมีความสังวรตน
2. เสี่ยงจือ เป็นคัมภีร์รัฐศาสตร์ กล่าวถึงระเบียบแบบแผนในการปกครองตั้งแต่สมัยพระเจ้าเงี้ยวจนมาถึงสมัยราชวงศ์จิว แต่เดิมมีถึง 3,240 บท ได้ตัดทอนลงเหลือ 120 บท และต่อมาเหลือ 28 บท
3. เอี๊ยะ คือ ธรรมชาติวิทยา ความจริงคำนี้หมายถึง ความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่างความเปลี่ยนแปลงนี้เองปรากฎเป็นปรากฎการณ์ ปรากฎการเกิดจาก 2 อย่างมารวมกัน เช่น ชายกับหญิงเกิดเป็นบุตร ฟ้ากับดินเกิดเป็นสรรพสิ่ง จักรภพมีมูลธาตุ 2 อย่างที่ตรงกันข้าม
4. โล้ยกิง คือ นิติธรรมเนียม หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี ความถูกต้อง กฏหมาย ระเบียบ แบบแผน จารีต วัฒนธรรม เป็นคัมภีร์ที่มีลักษณะคล้ายคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดียเดิม หมายถึง การบูชาฟ้าดิน ต่อมาหมายถึง วัฒนธรรมทางสังคม
5. จัดเป็นวรรณคดีโคลงเล่มแรกของจีน เป็นการรวบรวมบรรดาโคลงสมัย 500 ปีมาแล้วว่าด้วยนักปกครอง เรื่องศาสนา เรื่องบ้านเมือง เรื่องชีวิตในสังคม เรื่องธรรมชาติ และเรื่องความรัก เป็นต้น เป็นโคลงที่สะท้อนถึงสภาพชีวิตของชาวจีนในอดีตได้เป็นอย่างดี
ข. คัมภีร์ชู แบ่งออกเป็น 4 เล่ม คือ
1. ต้าเซี่ยว หมายถึง อุดมศึกษา ว่าด้วยหลักธรรม กล่าวกันว่าเป็นข้อเขียนของขงจื๊อ
2. จุนยุง หมายถึง คำสอนเรื่องทางสายกลาง กล่าวกันว่าหลานชายบันทึกคำของขงจื๊อ
3. ลุนยู หมายถึง บทรวมภาษิตของขงจื๊อ ศิษย์หลายคนได้รวบรวมขึ้นเป็นพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของขงจื๊อ
4. เม่งจื๊อ หมายถึง นักปรัชญาจีนผู้หนึ่งเกิดหลังขงจื๊อประมาณ 100 ปี ประกาศปรัชญาของขงจื๊อสืบต่อมา
คัมภีร์ทั้ง 4 เล่มนี้ใช้เป็นหลักสูตรในการสอบเข้ารับราชการ เป็นตำราเรียนในโรงเรียนของจีนสมัยโบราณติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 500 ปี อิทธิพลของคติธรรมในคัมภีร์เหล่านี้ครอบคลุมความคิดอ่านของจีนทั้งชาติ และมาล้มเลิกไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นสาธารณรัฐนี้เอง

หลักธรรม 
 หลักธรรมคำสอนของศาสนาขงจื๊อ ถ้าจะกล่าวโดยรวบยอด ก็ได้แก่หลักการ "ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน" หรือ "การเอาใจเขามาใส่ใจเรา" โดยท่านได้แบ่งกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่สัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องกันไว้ 5 คู่ด้วยกัน ดังนี้
1. ผู้ปกครอง กับ ผู้อยู่ใต้การปกครอง
2. บิดามารดา กับ บุตรธิดา
3. สามี กับ ภรรยา
4. พี่ กับ น้อง
5. เพื่อน กับ เพื่อน
1. ผู้ปกครอง ต้องแสดงความนับถือ (ให้เกียรติ) แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้อยู่ใต้ปกครอง ก็ต้องมีความจงรักภักดี
2. บิดามารดา ก็ต้องมีความเมตตา กรุณาต่อบุตรธิดา และบุตรธิดาก็ต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
3. สามี ก็ต้องประกอบด้วยคุณธรรมสงเคราะห์ภรรยาตามควรและภรรยาก็ต้องเคารพ เชื่อฟัง และปรนนิบัติ
4. พี่ชาย วางตัวให้สมกับเป็นพี่ และน้องก็ต้องเคารพและให้เกียรติพี่
5. เพื่อน ก็วางตัวให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจกันและกัน

นิกาย 
 นักการศาสนาบางกลุ่มกล่าวว่า ศาสนาขงจื๊อไม่มีนิกาย แต่อย่างไรก็ตาม ศาสนาขงจื๊อแม้จะปรากฏว่าไม่มีนิกายโดยตรง แต่มีหนังสือหลายเล่มกล่าวถึงผู้นับถือศาสนาขงจื๊อพวกใหม่ หรือที่เรียกว่า Neo - Confucianism ในสมัยราชวงศ์ซุง ซึ่งรับเอาความคิดในเรื่อง หยิน - หยาง รวมทั้งการเซ่นไหว้ของประชาชนตามประเพณีโบราณเข้าไว้ในหลักการด้วย
คำว่า หยิน - หยาง นั้น เป็นระบบของโลก ระหว่างความมืดกับความสว่าง ความชั่วกับความดี อันเป็นของคู่กัน คือ หยิน เป็นสิ่งแทนความมืดและความชั่ว ส่วนหยางเป็นสิ่งแทนความสว่างและความดี

เมื่อมีคำว่า ผู้นับถือศาสนาขงจื๊อใหม่ ก็ทำให้คิดถึงพวกที่นับถือศาสนาขงจื๊อเก่า ซึ่งการปฏิบัติก็แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าจะจัดว่าพวกที่นับถือศาสนาขงจื๊อใหม่เป็นนิกายใหม่อีกนิกายหนึ่งก็ไม่ค่อยจะชัดเจนนัก
พิธีกรรม ขงจื๊อได้เขียนข้อสนับสนุนประเพณีโบราณไว้เป็นอันมาก รวมทั้งประเพณีในการบูชาฟ้าดิน และบูชาบรรพบุรุษด้วย ศาสนาขงจื๊อจึงรับเอาประเพณีทั้ง 2 ซึ่งมีมาแต่ก่อนหลายพันปีเข้าไว้เป็นหลักการใหญ่
เป็นอันว่าประเพณีต่างๆที่สืบทอดมาแต่โบราณ ขงจื๊อก็รวบรวมเรียบเรียงไว้ และเมื่อขงจื๊อซึ่งเป็นศาสดาได้สิ้นไปแล้ว ศาสนาขงจื๊อก็อยู่ในฐานะศาสนาของรัฐ พิธีกรรมในการบูชาจึงแบ่งออกเป็น 2 อย่าง ดังนี้
1. พิธีบูชาขงจื๊อ เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 195 ก่อนค.ศ. พระจักรพรรดิจีนได้นำสัตว์ที่ฆ่าแล้วไปทำพิธีบูชาที่หลุมฝังศพขงจื๊อ และมีคำสั่งเป็นทางราชการให้มีการเซ่นไหว้ขงจื๊อเป็นประจำ และให้สร้างศาลของขงจื๊อขึ้นทั่วทุกหัวเมืองที่สำคัญ แล้วทำพิธีเซ่นไหว้ ทั้งให้วันเกิดของขงจื๊อ คือ วันที่ 27 สิงหาคม เป็นวันหยุดราชการประจำปีของจีน และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวันที่ 28 กันยายน
2. พิธีบูชาฟ้า ดิน พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ในปีหนึ่ง จะมีรัฐพิธี 4 ครั้ง ดังนี้
2.1 พิธีบูชาฟ้า กระทำกันประมาณวันที่ 22 ธันวาคม พระจักรพรรดิจะทรงเป็นประธานในพิธี ในพิธีจะมีการแสดงดนตรี การแห่โคมไฟ มีเครื่องเซ่นไหว้ เช่น อาหาร ผ้า ไหม เหล้า เป็นต้น เสร็จแล้วจะเผาเครื่องเซ่นไหว้หมด แท่นบูชาอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง ทำด้วยหินอ่อนสีขาว มีระเบียงลดหลั่นเป็นชั้น3 ชั้น
2.2 พิธีบูชาดิน เป็นการบูชาธรรมชาติหรือเทพประจำธรรมชาติ ผู้ประกอบพิธีเป็นขุนนางหรือข้าราชการ กระทำเป็นงานประจำปี ประมาณวันที่ 21หรือ 22 มิถุนายน ที่เรียกว่า ครีษมายัน ณ แท่นบูชา อยู่ทางทิศเหนือกรุงปักกิ่ง สถานที่บูชามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมีน้ำล้อมรอบ
2.3 พิธีบูชาพระอาทิตย์ กระทำเป็นทางราชการประจำปี ณ ที่บูชาทางประตูด้านตะวันออกของกรุงปักกิ่ง ประมาณวันที่ 21 มีนาคม ที่เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต คือวันที่กลางคืนและกลางวันเท่ากัน ในฤดูใบไม้ผลิ
2.4 พิธีบูชาพระจันทร์ กระทำเป็นทางราชการประจำปี ณ ที่บูชาทางด้านตะวันตกของกรุงปักกิ่ง ประมาณวันที่ 22 หรือ 23 กันยายน ที่เรียกว่า วันศารทวิษุวัต คือวันที่กลางวันและกลางคืนเท่ากัน ในฤดูใบไม้ร่วง

สัญลักษณ์
1. สัญลักษณ์ศาสนาขงจื๊อโดยตรง ได้แก่ รูปปั้น รูปหล่อ หรือรูปเขียนของขงจื๊อเองซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาล 
2. สัญลักษณ์อย่างอื่น คือ ภาพวงกลม แบ่งเป็น 2 ส่วน เท่ากันด้วยเส้นเว้า ที่เรียกในภาษาจีนกลางว่า หยิน-หยาง
3. ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ตามข้อ 1-2 เขาก็ใช้แผ่นป้ายจารึกนามขงจื๊อ ในรูปการบูชาบรรพบุรุษที่ชาวจีนนิยมทำกัน คือ การจารึกชื่อผู้ตายในแผ่นป้าย แล้วตั้งไว้เพื่อบูชาเซ่นไหว้
4. สัญลักษณ์อีกอย่างคือ รูปคนจีนแต่งตัวโบราณกำลังประสานมือแสดงคารวะต่อกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศาสนาขงจื๊อ (Confucius)




ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม